มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - สร้างผังรวยข้ามชาติ
วันหนึ่ง เธอได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเดินบิณฑบาตผ่านหน้าบ้าน บังเกิดความเลื่อมใส จึงรีบนำอาหารหวานคาวมาใส่บาตร ถวายดอกปทุมกำหนึ่ง พลางตั้งความปรารถนาว่า "ไม่ว่าจะเกิดไปกี่ภพกี่ชาติก็ตาม ขอให้เป็นที่รักของมหาชนเหมือนดอกปทุมนี้" ทั้งยังอธิษฐานเพิ่มเติมอีกว่า "การอยู่ในครรภ์มารดาเป็นสิ่งลำบาก ขอให้ได้เกิดในดอกปทุม ไม่ต้องไปอาศัยอยู่ในครรภ์มารดาอีก"
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - ผูกมิตรไว้ดีกว่า
พญาเต่าฟังดังนั้นจึงกล่าวให้กำลังใจว่า "เพื่อน ไม่ต้องเป็นห่วงหรอก เราจะช่วยเหลืออย่างสุดกำลังความสามารถ เพราะบัณฑิตทั้งหลาย ย่อมมีความจริงใจต่อมิตรสหาย และคอยให้ความช่วยเหลือในทุกเรื่องอย่างสุดกำลัง"
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - ตายแทนกันได้
นายพรานก็มีใจอ่อนโยน เกิดหิริโอตตัปปะ ได้คิดว่า "รางวัล และยศจากพระราชาจะมีประโยชน์อะไร ถ้าเราทำร้ายสัตว์ผู้มีคุณธรรมเช่นนี้ แผ่นดินจะต้องสูบเรา หรือสายฟ้าจะต้องฟาดลงบนกระหม่อมของเราเป็นแน่"
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - สหายแห่งธรรม
แม้พญาช้างจะมีอุปสรรคคือไม่ได้กายมนุษย์ แต่ด้วยดวงใจที่เต็มเปี่ยมด้วยพลังศรัทธา จึงสามารถทำกิจทุกอย่าง คอยอุปัฏฐากพระพุทธองค์โดยมิได้ขาดตกบกพร่องเลย พญาช้าง ได้ใช้งวงจับหม้อไปตักน้ำฉันน้ำใช้มาตั้งไว้ เวลากลางวันก็เอางวง หักกิ่งไม้มากวาดบริเวณที่พัก เพื่อให้พระบรมศาดาได้ใช้เป็นที่เสด็จเดินจงกรม
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - ต้องถนอมมิตรแท้
ราชสีห์ไม่สามารถยั้งความเร็วไว้ได้ จึงตกลงไปในเปือกตม เท้าทั้งสี่ขยับเขยื้อนไม่ได้เลย จึงต้องยืนปักเท้าทั้งสี่เหมือนเสาเรือน อดอาหารอยู่ ๗ วัน ไม่มีสัตว์ตัวไหนกล้าเดินมาใกล้บริเวณนั้นเลย ในวันที่แปด มี สุนัขจิ้งจอก ตัวหนึ่ง เที่ยวหาอาหารมาถึงบริเวณนั้นพอดี ครั้นเห็นราชสีห์ก็รีบทำท่าจะวิ่งหนี ราชสีห์รีบพูดปลอบสุนัขจิ้งจอกว่า
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - สัมมาทิฏฐิ ( ๔ )
สำหรับตอนนี้ มีเรื่องในอดีตชาติของท่านอุรุเวลกัสสปะมาเล่าต่อจากครั้งที่แล้ว ที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ไม่ใช่เฉพาะในภพชาตินี้เท่านั้น ที่พระองค์ทำลายความเห็นผิดของท่านอุรุเวลกัสสปะ
มงคลที่ ๔ อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม
เราจะเห็นว่า การได้อยู่ในปฏิรูปเทส เช่นพระวักกลินั้น เป็นมงคลยิ่งแก่ชีวิต เพราะท่านอยู่ในกรุงสาวัตถี ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดเชตวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่นานที่สุด จึงมีโอกาสได้เห็นพระพุทธองค์ เห็นแล้วก็มีความศรัทธาเลื่อมใส ได้บวชในบวรพระพุทธศาสนา ได้ฟังธรรม ฝึกฝนตนเอง จนในที่สุดได้บรรลุมรรคผลนิพพาน
มงคลที่ ๔ อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม - ทําสิ่งแวดล้อมให้เป็นปฏิรูปเทส ( ๒ )
มีข้อที่น่าสังเกต คือ ไม่ ว่าเราจะไปอยู่ที่ไหน ควรทำตัวให้เป็นที่รักของคนรอบข้าง พึงสร้างสัมพันธไมตรีที่ดีกับทุกๆ คน เพราะการมีพรรคมีพวกจะทำให้เกิดความสะดวก ยามมีภัยหรือเกิดวิกฤติคับขัน จะได้มีผู้ช่วย ปกป้องคุ้มครอง หรืออย่างน้อย ก็เอาตัวรอดได้ อย่างนี้ถือว่า เริ่มสร้างปฏิรูปเทสให้เกิดขึ้นแล้ว
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - รู้เท่าไม่ถึงการณ์ (๓)
พระราชารู้สึกกลัวในกาเมสุมิจฉาจารที่พระองค์กำลัง จะล่วงละเมิด ทรงเริ่มเกิดความสังเวชสลดพระทัย และอยากจะช่วยเปรตให้เสวยสุข จึงตรัสถามว่า "ทำอย่างไรท่านจึงจะได้เครื่องนุ่งห่ม ขอจงบอกเราเถิด หากเราช่วยท่านได้ เราก็ยินดี และเพื่อเป็นการพิสูจน์ว่า ผลแห่งกรรมดีสามารถอุทิศให้ได้"
มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต - กัลยาณวาทะ
นิครนถ์นาฏบุตร เจ้าลัทธิเดียรถีย์ที่ไม่ชอบใจในพระบรมศาสดา เพราะศรัทธามหาชนของตนเองห่างเหินไป จึงแต่งปัญหาข้อหนึ่งเป็นโอวัฏฏิกสาระ คือปัญหาวนเวียน ไม่มีใครสามารถแก้ได้ ปัญหานี้นิครนถ์ใช้เวลา ๔ เดือน จึงคิดออก และยุให้อภัยราชกุมารเรียนปัญหานั้นจนแตกฉาน เพื่อจะได้ส่งไปโต้วาทะกับพระผู้มีพระภาคเจ้า